โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

งานบริการวิชาการ

 

 

  ขนาดตัวอักษร

โครงการพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างต่อเนื่องโดยพยาบาลผดุงครรภ์เจ้าของไข้ หลักการและเหตุผล

  หลักการและเหตุผล  
          โครงการพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างต่อเนื่องโดยพยาบาลผดุงครรภ์เจ้าของไข้เป็นโครงการต่อเนื่องจาก โครงการพัฒนาคุณภาพการดูแลและส่งเสริมสุขภาพสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ หน่วยฝากครรภ์ งานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราชได้ร่วมกันวางแผนจัดโครงการขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในเบื้องต้นคือเพื่อให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความรู้ในการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ ซึ่งเริ่มจากการประเมินความรู้ของสตรีวตั้งครรภ์วัยรุ่นภายหลังเข้ารับการฝากครรภ์ การวิเคราะห์การปฏิบัติงานในหน่วยฝากครรภ์และการสอบถามความต้องการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น และผลจากการประชุมระดมสมอง ทำให้เกิดแนวทางในการจัดคลินิกเฉพาะสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในการดูแลโดยพยาบาลผดุงครรภ์เจ้าของไข้และการให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ผลของการดำเนินโครงการพบว่า สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความรู้ในการปฎิบัติตนได้ถูกต้องมากขึ้น เกิดผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ดี พยาบาลเจ้าของไข้ได้รับความไว้วางใจจากสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการมาก การสอบถามซักประวัติและการบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลที่ได้พัฒนาขึ้นและการดูแลที่ต่อเนื่อง ทำให้พยาบาลเจ้าของไข้ทราบถึงความเสี่ยงต่างๆซึ่งช่วยให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง สังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฎิบัติตัวในระยะตั้งครรภ์ต่างๆ ประเมินความพร้อม การยอมรับ การตั้งครรภ์ และการปรับบทบาทการเป็นมารดา รวมทั้งส่งเสริมให้มีการสนับสนุนช่วยเหลือจากคู่สมรสหรือครอบครัว การมีคลินิกเฉพาะทำให้ผู้รับบริการผ่อนคลาย สามารถระบายสิ่งที่อยู่ในใจ ซึ่งทำให้ทราบถึงปัญหาทางด้านจิตใจและให้การดูแลด้านจิตใจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถให้คำปรึกษา และช่วยประคับประคองให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นสามารถก้าวผ่านปัญหาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงปัญหาทางสังคมได้ตลอดการตั้งครรภ์
          จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ทางทีมงานจึงเห็นว่าควรมีการขยายการดำเนินงานโครงการ โดยการขยาย 1) จำนวนสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่รับไว้ในการดูแลเพิ่มขึ้น 2) จำนวนสมาชิกในทีม 3) ขอบเขตการดูแลและการให้ความรู้ต่อเนื่องไปถึงระยะคลอดและหลังคลอด และ 4) การติดตามผลลัพธ์ของโครงการเช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการคุมกำเนิดเป็นต้น